เข้าใจปุ๋ย ก็ใช้ได้ถูกวิธี เกษตรกรหลายท่านอาจจะคุ้นชิน แต่กลไก ลักษณะของปุ๋ยเป็นยังไงบ้าง เรามีเกร็ดความรู้มาฝากกัน
ปุ๋ย หมายถึง สารอินทรีย์ อินทรียสังเคราะห์ อนินทรีย์ หรือจุลินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารให้กับพืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ หรือชีวภาพในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช1
1. ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรียสังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี แต่ไม่รวมถึง
1.1 ปูนขาว ดินมาร์ล ปูนปลาสเตอร์ ยิปซัม โดโลไมต์ หรือสารอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1.2 สารอนินทรีย์หรืออินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม ที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการอุตสาหกรรมหรือกิจการอื่น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์
3. ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ
4. ปุ๋ยอินทรีย์เคมี หมายถึง ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารรับรองแน่นอน โดยมีปริมาณอินทรียวัตถุตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1. ปุ๋ยเชิงเดี่ยว หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักธาตุเดียว ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟต หรือปุ๋ยโพแทช1
ตัวอย่างปุ๋ยเชิงเดี่ยว
2. ปุ๋ยเชิงผสม (ฺBulk Blending Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมี ชนิดหรือประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามต้องการ1
นอกจากนี้ ปุ๋ยเชิงผสม สามารถแบ่งย่อยได้ 2 ประเภทคือ
ตัวอย่างปุ๋ยเชิงผสม
3. ปุ๋ยเชิงประกอบ (Compound Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี และมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป1
ตัวอย่างปุ๋ยเชิงประกอบ
นอกจาก 3 ประเภทนี้แล้ว ยังสามารถแยกประเภทปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมอีกกลุ่มหนึ่งคือ ปุ๋ยคอมเพล็กซ์
4. ปุ๋ยคอมเพล็กซ์ (Complex Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมีที่มีธาตุอาหารหลัก 2 ธาตุก่อนแล้ว จึงเติมธาตุอาหารหลักอื่น เพื่อให้ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นมีธาตุอาหารหลักครบถ้วนทั้ง 3 ธาตุ เช่น กระบวนการผลิตไนโตรฟอสเฟตแล้วเติมโพแทสเซียม เพื่อให้ได้ปุ๋ย N-P-K ตามสัดส่วนที่ต้องการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่นิยมใช้กันมากในประเทศแถบยุโรป
ตัวอย่างปุ๋ยคอมเพล็กซ์
1/พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550